หน้าเว็บ

ประวัติและปฎิปทาหลวงปู่เทือง ญาณธโร


หลวงปู่เทือง ญาณธโร
พระวิปัสสนาจารย์เถระ
วัดโพธิ์ชัย อ.วังสะพุง จ.เลย วิปัสสนาจารย์สายธรรมวัดมหาธาตุฯ


(บทสัมภาษณ์และเรียบเรียงเผื่อการเผยแพร่)
ตอนที่1



....หลวงปู่เทือง ญาณธโร วัดโพธิ์ชัย จ.เลย ปัจจุบันอายุ 82 ปี 62 พรรษา นามเดิมก่อนบวช เทือง ไชยพรหมมา เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม พ.ศ.2479 โดยท่านได้เข้า อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2500 ณ วัดศรีชมชื่น อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ฉายาทางธรรม "ญาณธโร" แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งญาณความรู้ หลังจากท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยในสมัยนั้น คือหลวงพ่อบุญทันได้ขอให้ท่านไปอยู่ จำพรรษากับหลวงพ่อศิลา ณ วัดโน่นสว่าง ซึ่งพระในพรรษานั้นขาด ไม่มีพระไปอยู่ด้วย ซึ่งหลวงพ่อศิลาองค์นี้ท่านเป็นหมอยาสมุนไพร หลวงปู่เทืองสมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มก็ได้มีโอกาสได้ร่ำเรียนวิชา เกี่ยวกับยาสมุนไพรกับหลวงพ่อศิลาด้วยในสมัยนั้น

ในระหว่างที่หลวงปู่เทืองท่านจำพรรษาอยู่วัดโน่นสว่างนี้ ท่านก็ได้มีโอกาส ร่ำเรียนนักธรรม ตั้งแต่นักธรรมตรี โท และเอก ตามลำดับจนสามารถสอบนักธรรมได้ครบทั้งหมด ท่านกล่าวว่า หลังจากเรียนนักธรรมแล้วท่านก็มาพิจารณาถึงกรรมฐาน40กองที่อยู่ในตำรับตำรา เพื่อหาอุบายในการภาวนาเพราะท่านว่า"ถ้าเรียนมาไม่นำไปปฏิบัติ ก็ยังพอหาประโยชน์ไม่ได้" ท่านจึงเริ่มหาอุบายในการปฏิบัติโดย แรกเริ่มท่านใช้อสุภกรรมฐานเป็นองค์ในการภาวนา เพราะในวัยพระที่อายุยังหนุ่มยังน้อย ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์อยู่นั้น กามราคะย้อมกำเริบในกายได้ง่าย ดังนั้นควรใช้อสุภกรรมฐานเป็นการแก้จิตที่กำหนัดยินดีในกามจะดีที่สุด ท่านจึงจับเอาอสุภกรรมฐานเป็นอารมณ์ในการภาวนาในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดโน่นสว่างแห่งนี้ ซึ่งในช่วงนั้นราวๆพรรษาที่ 7-8 แล้ว

เมื่อคราวท่านภาวนาโดยเอาอสุภกรรมฐานเป็นองค์ภาวนาอยู่นี้ เมื่อภาวนาไปหลายวัน หลายเดือนเข้าจิตใจของท่าน เริ่มเกาะเกี่ยวกับอารมณ์กรรมฐานนี้อย่างหนัก กล่าวคือเมื่อเวลาภาวนากำหนดพิจารณาอสุภะทีไร ก็รู้สึกอารมณ์ธรรมจะหนักหน่วงมาก เห็นแต่ของหน้ารังเกียจไปหมด ถึงขนาดว่าไม่สามารถฉันอาหารได้เลย เพราะเห็นทุกอย่างเป็นความไม่สวย ไม่งามหน้ารังเกียจไปเสียหมด. ท่านกล่าวว่า "ในระหว่างนี้ไม่สามารถละวางอารมณ์นี้ได้เลย"....


ปฏิบัติแก้จิตที่วัดป่าโพธิ์


พระครูโพธิสารคุณ
.....ในระหว่างที่ท่านพิจารณาธรรมอสุภกรรมฐานอยู่ที่วัดโน่นสว่างนี้ ท่านรู้สึกว่าการภาวนาที่ทำอยู่ยังไม่อาจละวางเรื่องกามราคะได้ มิหนำซ้ำจิตยังไปติดอารมณ์กรรมฐานอีก ท่านจึงกราบลาหลวงพ่อศิลา ออกเที่ยวธุดงค์แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งในภาคอีสานในสมัยนั้น สำนักที่มีแบบแผนในการปฏิบัติที่สุดก็คือ วัดป่าโพธิ์ บ้านโนนทัน จ.ขอนแก่น หลวงปู่เทือง ท่านก็ได้มาอยู่ปฏิบัติที่นี้ โดยไปๆมาๆระหว่างเมืองเลย ขอนแก่น ในช่วงนี้

หลวงปู่เทืองกล่าวว่า "ท่านมาปฏิบัติที่นี้กับ ท่านพระครูโพธิสารคุณ" หรือหลวงปู่โพธิ์ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานประจำจังหวัดขอนแก่น ซึ่งในการปฏิบัติอยู่ที่นี้ จะเป็นการปฏิบัติกรรมฐานแนวสติปัฏฐานสี่ เป็นแนวปฏิบัติของวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพ หลวงปู่เทืองได้มาอยู่ปฏิบัติที่นี้ ตั้งแต่พื้นฐานการภาวนาแบบยุบหนอ ผองหนอ ให้มีสติตามดูอารมณ์เกิดดับของจิต ซึ่งถือเป็นการปรับพื้นฐานของจิตให้มีกำลัง

หลวงปู่เทืองท่านก็ขยันขันแข็งในการปฏิบัติเอาจริง เอาจังเป็นอย่าง

มากในระหว่างที่ปฏิบัติอยู่ที่นี้ เมื้อครั้งมีโอกาส หลวงปู่เทืองท่านก็ได้เข้าไปกราบเรียน เรื่องการปฏิบัติของท่านให้ หลวงปู่โพธิ์ฟัง เมื่อฟังจบหลวงปู่โพธิ์ ก็ให้โอวาทธรรมหลวงปู่เทือง เพื่อเป็นอุบายแก้จิตว่า"การพิจารณาอสุภะนั้น อย่าหนักอารมณ์เพ่งมากไปก็ไม่ดี เพราะจะทำให้ติดสัญญาอารมณ์ตัวเอง มันจะหลง จะหย่อนไปก็ไม่ดีจะเป็นประมาทไปเสีย ให้พิจารณาพอดีๆกลางๆ แบ่งรับแบ่งสู้ พอมีหลักพื้นฐานสติดีแล้ว พอเร่งพิจารณาก็เร่ง พอพิจารณาแล้วรู้สึกหนักไปก็ผ่อนก็พักมากำหนดที่สติดังเดิม แบบนี้จึงจะถูก..."หลวงปู่เทืองกล่าวว่า "เรื่องกามราคะ พิจารณาอสุภะนี้ ท่านก็มาละมาวางได้ที่วัดป่าโพธิ์โนนทันแห่งนี้ นี้เองที่พอละพอวางได้...." หลวงปู่เทือง กล่าวเช่นนั้น






(บทสัมภาษณ์และเรียบเรียงเพื่อการเผยแพร่)
ตอนที่ 2


นิมิตธรรมที่วัดป่าโพธิ์โนนทัน

... ราวๆปี พ.ศ. 2511 จะย่างเข้าพรรษาที่ 12. ของหลวงปู่เทือง ในช่วงนี้ แม้ว่าท่านจะยังคงจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนสว่าง จ.เลย อยู่ก็ตามแต่ท่านก็มักจะเทียวมาอยู่ปฏิบัติภาวนากับหลวงปู่โพธิ์ ณ วัดป่าโพธิ์ บ้านโพธิ์โนนทัน จ.ขอนแก่น แห่งนี้เป็นระยะๆ อยู่เสมอโดยอาศัยการเทียวมาพักค้างทีละ 15วันบ้างหรือนานหน่อยก็อยู่เป็นเดือน เพราะเนื่องจากการได้อยู่ปฏิบัติที่นี้ ทำให้ท่านได้มีโอกาสอยู่ฟังโอวาทธรรมของครูบาอาจารย์ ทั้งยังได้รับคำสั่งสอนของครูบาจารย์อย่างทันท่วงที เมื่อยามมีข้อปฏิบัติที่ติดขัด..

ในช่วงนี้หลวงปู่เทืองท่านกล่าวว่า "ในช่วงที่ปฏิบัติอยู่ที่นี้ เรื่องภาวนาของท่านเป็นไปได้ดีมาก เห็นผลแห่งการปฏิบัติเป็นที่หน้าพอใจ ในช่วงนี้ท่านได้เร่งภาวนาอย่างเต็มที่ โดยไม่ลดละความเพียรเลย บางครั้งไม่ได้ฉันข้าวเป็นวันก็มี" เมื่อครั้งที่ท่านอยู่ปฏิบัติที่วัดโพธิ์โนนทันนี้ ท่านว่าในระหว่างที่จิตรวมเป็นสมาธิ หลายครั้งได้เกิดภาพนิมิตให้เห็นเป็นหลายอย่าง ในช่วงต้นๆนี้ ทั้งมีเรื่องของผีสางมารบกวนในระหว่างภาวนา. มีทั้งเทวดามาบอกเรื่องนั้น เรื่องนี้บ้าง แต่ท่านก็มิได้สนใจ เพราะในเรื่องนิมิตนี้หลวงปู่ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักเนื่องจากท่านว่า. มันเป็นเรื่องหลอกของจิต ไม่มีประโยชน์อะไร

โดยหลวงปู่เทืองท่านว่า "การภาวนาสำคัญที่สติ และ สัมปชัญญะ ให้รู้ตัวรู้จิตรู้ใจอยู่เสมอ ให้มีสติแนบชิตติดกันไปให้อยู่ภายในกายอย่าส่งจิตออกนอกกาย มีสติเป็นไปในกาย ถ้าส่งจิตออกนอกจะทำให้เกิดความฟุ้นซ่าน เป็นคนเหม่อลอยเสียสติ นิมิตก็เหมือนกัน นิมิตที่เกิดขึ้น เป็นเงาของจิต เพื่อหลอกจิต อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในนิมิตให้รีบกลับมา มีสติควบคุมไว้ เพราะมิเช่นนั้นจะทำให้หลงจิตได้ และสุดท้ายจะทำให้การภาวนาล่าช้า หรือไม่ก็หลงนิมิตกลายเป็นคนเสียจริต เสียสติไป ดังนั้นสติและสัมปชัญญะ. การระลึกรู้ตัวจึงสำคัญที่สุดในการปฏิบัติ"

การปฏิบัติของหลวงปู่ในช่วงนี้ ท่านจะเร่งภาวนาและระวังสติอยู่เสมอ แม้ขณะท่านจะยืน เดิน นั่ง นอน ท่านจะมีสติระลึกยุบหนอ ผองหนอ ย่างหนอ เดินหนอ อยู่ทุกขณะจิตเลยทีเดียว. โดยไม่ปล่อยให้เป็นไปตามสัญญาอารมณ์ของกิเลสตัณหาเลย ในช่วงนี้ท่านเร่งความเพียรภาวนาอยู่มากทั้งเดินจงกรม ทั้งนั่งภาวนาทีละหลายสิบชัวโมง...


.........จนมีอยู่คืนหนึ่งขณะที่หลวงปู่ท่านนั่งภาวนาอยู่ในกุฎิที่พักนั้น อยู่ๆจิตท่านก็รวมลงสู่สมาธิอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะนั้นท่านว่า "ท่านก็
ท่านได้ให้ช่างวาดรูป
ที่ท่านนิมิตธรรมพระพุทธเจ้าในครั้งนี้
วาดขึ้นบนฝาผนังในกุฏิของท่าน ที่วัดโพธิ้ชัย
กำหนดสติตามดูอยู่ ทุกระยะที่จิตรวมลงนี้ ในขณะที่ท่านกำหนดดูอยู่นั้น ก็เกิดนิมิตแปลกๆปรากฏขึ้น ซึ่งนิมิตนี้ท่านไม่เคยเห็นมาก่อน โดยในนิมิตนั้นปรากฏแสงสว่างทั้งสีขาว ทั้งสีทองสว่างไสวมาก ในกลางแสงสว่างนั้นปรากฏรูปพระพุทธเจ้าขึ้นนั่งขัดสมาธิ ปางมารวิชัย ลอยขึ้นในอากาศ. ท่านว่านิมิตนี้ท่านเห็นชัดเจนมาก ในขณะจิตนั้นก็รู้สึกปีติตามไปด้วย"
 ซึ่งนิมิตที่ปรากฏขึ้นนี้ประหนึ่งเป็นเครื่องหมายว่า การปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เทืองมาถูกทางแล้ว แลยิ่งปฏิบัติมากเท่าไร ก็ยิ่งจะเข้าใกล้ธรรมะของพระพุทธเจ้ามากเท่านั้น


ซึ่งนิมิตที่เกิดขึ้นนี้ ยิ่งทำให้หลวงปู่มีกำลังจิตกำลังใจมากยิ่งขึ้นในการปฏิบัติ เหมือนหนึ่งนิมิตธรรมที่ปรากฏขึ้นนี้จะแสดงให้เห็นตามนัยพระบาลีที่ว่า "โย ธัมมัง ปัสสะติ โส มัง ปัสสะติ" ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต

**ปัจจุบันหลวงปู่เทือง ท่านได้ให้ช่างวาดรูป. วาดรูปที่ท่านนิมิตธรรมพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ วาดขึ้นบนฝาผนังในกุฏิของท่าน ที่วัดโพธิ้ชัย**

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2512. ที่วัดโนนสว่าง ย่างพรรษาที่ 13 ของหลวงปู่
วัดโน่นสว่าง
เทือง ในออกพรรษาปีนั้น ท่านได้มาพิจารณาเห็นว่าพระเณรก็มาอยู่จำพรรษาทีนี้มากแล้ว และหมู่ฆราวาสญาติโยมก็เข้ามาเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับวัด มามากขึ้นด้วย อาจจะไม่สะดวกกับตัวท่านนักในเรื่องการปฏิบัติ เพราะจะได้ยุ่งกับหมู่คณะมากขึ้น เนื่องด้วยหลวงพ่อศิลาผู้เป็นเจ้าอาวาส ก็ได้สึกขาลาเพศออกไปเป็นหมอยาในปีนั้น ท่านจึงเห็นว่าอาจเป็นภาระเกี่ยวเนื่องในการปฏิบัติธรรมของท่าน ท่านจึงย้ายไปจำพรรษาที่วัดอื่น ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม และเป็นที่สัปปายะพอสมควร ไม่มีผู้คนเกี่ยวข้องมากนัก

ซึ่งวัดที่ท่านไปจำพรรษาในช่วง พรรษาที่ 13. ก็คือวัดเกาะแก้ว บ้านกุดแก ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นวัดเล็กๆและเป็นป่าช้าในสมัยนั้น จึงเป็นสถานที่เหมาะสมพอสมควรในการภาวนาที่นี้ ในช่วงนั้นราวๆปี พ.ศ. 2513. ซึ่งรวมระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่วัดโนนสว่าง บ้านโนนสว่าง ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย ก่อนจะย้ายมาที่วัดเกาะแก้วนี้ เป็นเวลาทั้งสิ้น12ปี 12พรรษา


หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
ซึ่งในช่วงพรรษาที่ 13. นี้เองท่านได้มีโอกาสเที่ยวธุดงค์แสวงธรรมเข้ากราบครูบาอาจารย์มากขึ้น ทั้งได้เข้าป่าบ้าง ทั้งได้นั่งรถไปบ้าง ท่านก็ไปหลายที่ อาทิเช่น แถวนครพนม ภูกระดึง เพชรบูรณ์ ได้มีโอกาสเข้ากราบ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ วัดชนแดน หลวงปู่เทืองท่านกล่าวว่า " การเข้าไปกราบหลวงพ่อทบนั้น ก็ได้มีโอกาสไถ่ถามในเรื่องการภาวนานี้ด้วย หลวงพ่อทบท่านก็แนะนำวิธีของท่านต่างๆนาๆก็ทราบว่าเป็นการปฏิบัติ ภาวนาแบบเดียวกัน " หลวงปู่เทืองท่านก็ได้เข้ากราบหลวงพ่อทบอยู่หลายครั้ง หลายหนอยู่เช่นกัน ...


หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่
และบางครั้งท่านก็ได้เข้ากราบหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ หลวงปู่เทืองท่านกล่าวว่า " หลวงพ่อคูณนี้ได้เข้ากราบท่านหลายครั้ง เพราะไปตามสายของท่าน รู้จักกับศิษย์สายท่าน" ในช่วงนี้เองหลวงปู่ก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนสนทนา ธรรมะและวิชาการทำตะกรุดกับศิษย์สายหลวงพ่อคูณด้วย และในบางครั้งท่านก็เข้าป่าหาที่ภาวนาไป ท่านกล่าวว่า"อยู่ในป่าสงบเงียบดี ได้ยินแต่เสียนก เสียงหนู สบายใจดี"....



(บทสัมภาษณ์และเรียบเรียงเพื่อการเผยแพร่)
ตอนที่ 3

.....ในช่วงเข้าพรรษาที่ 14 ในปี พ.ศ. 2513 หลังจากที่หลวงปู่เทือง ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดเกาะแก้ว บ้านกุดแก แห่งนี้ท่าน
วัดเกาะแก้ว
ว่า 
"พระที่จำพรรษาด้วยกัน ในปีนั้นมีด้วยกัน3รูป บริเวณวัดโดยทั่วไปเป็นป่าช้า ตอนเช้าบิณฑบาตเสร็จก็ฉันเลย เพราะสมัยก่อนไม่มีชาวบ้านมาจังหันเช้าเหมือนสมัยนี้กุฏิก็หลังเล็กๆ ห้องน้อยๆยกสูงไม้สี่เสาร์"

ในพรรษาที่หลวงปู่อยู่ที่นี้ ท่านก็เร่งภาวนาอย่างมาก ทั้งเดินจงกรมทั้งนั่งภาวนาหลังจากที่เสร็จสิ้นภาระกิจต่างๆแล้วท่านก็หลบมาภาวนาทันที. โดยวัดเกาะแก้วแห่งนี้บริเวณวัดแต่เดิมเป็นป่าช้ามาก่อน แม้ว่าต่อมาจะเป็นวัดบ้านแล้วก็ตาม แต่โดยรอบๆยังคงหลงเหลือพวกเศษผ้าห่อศพบ้าง เศษกระดูกเล็กๆน้อยๆโผล่ให้เห็นตามพื้นดินบ้าง ตามบริเวณทางจงกรมที่ท่านเดินก็มี


ท่านเลยเล่าเปรยๆให้ฟังเป็นคติธรรมเกี่ยวกับเรื่องผี วิญญาณ ในระยะเวลาที่ท่านปฏิบัติธรรมอยู่ที่นี้ไว้ว่า " ในช่วงเวลาตกกลางคืนที่วัดเกาะแก้วนี้ บางวันขณะเดินจงกรมอยู่ บางครั้งจะได้ยินเสียงร้องโหยหวนบ้าง มีลมพัดมาแรงๆบ้าง ทำเสียงตึงตังโดยรอบกุฏิบ้าง บางครั้งปรากฏให้เห็นเป็นแสง หรือมาปรากฏร่างในนิมิตก็มี ในทุกๆครั้งที่ปรากฏเหตุการต่างๆแบบนี้ขึ้น หลวงปู่ท่านจะแผ่เมตตาแผ่บุญกุศล ให้เสมอๆ ปรากฏการต่างๆที่เกิดขึ้นก็จะสงบเงียบหายไป..."

หลวงปู่ท่านกล่าวทิ้งทายว่า..."พวกผีวิญญาณเขา มาขอส่วนบุญ ส่วนกุศล พอได้แล้วเขาก็หนีหายไปเอง ไม่ได้มาทำอันตรายอะไร..."


ในช่วงที่ท่านพักภาวนาอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ท่านพระครูรังสฤษดิ์ สุมนชา
เจ้าคุณรังสฤษดิ์ สุมนชโต
โต(ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าคณะจังหวัดเลยมหานิกาย) 
ท่านจะแวะเวียนมาสนทนาธรรมกับหลวงปู่เทืองอยู่เสมอ เพราะท่านทั้งสองเป็นสหมิตรธรรมที่เคยเรียนนักธรรมด้วยกันมาก่อน ซึ่งพระครูรังสฤษดิ์ท่านให้ความเคารพในคุณธรรมของหลวงปู่เทืองมาก เมื่อมีงานสำคัญๆท่านมักจะนิมนต์หลวงปู่เทืองไปร่วมงานด้วยเสมอ...


หลวงปู่เทือง ท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดเกาะแก้วแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึง พ.ศ.2514 โดยในปี พ.ศ. 2515 อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย อ.วังสะพุง จ.เลย บ้านวังแท่นได้มรณะภาพตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงว่างลง คณะศรัทธาญาติโยมชาวบ้าน จึงได้ลงความเห็นกัน กราบนิมนต์หลวงปู่เทือง มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยเพราะเห็นว่าท่านมีอายุพรรษาได้พอสมควรแล้ว และอีกอย่างท่านเป็นคนบ้านวังแท่นอยู่แล้ว แต่ตอนนั้นหลวงปู่ท่านยังไม่สะดวกที่จะรับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงล่วงเลยเวลาไปเกือบสามเดือน หลังออกพรรษาปี พ.ศ.2515 หลวงปู่เทืองท่านจึงรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย ตั้งแต่นั้นมา...

พอหลวงปู่เทืองได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยแล้ว ท่านจึงได้นำหมู่
วัดโพธิ์ชัย
คณะศรัทธาญาติโยมร่วมกันสร้างและบูรณะถาวรวัตถุ แ
ละสิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัด เพราะวัดโพธิ์ชัยแห่งนี้ เป็นวัดเก่าแก่อายุเป็นร้อยกว่าปีแล้ว


.....แม้ว่าหลังจากหลวงปู่เทือง ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยแล้ว จะมีภาระหน้าที่ให้ดูแลเพิ่มมากขึ้น แต่หลวงปู่เทืองก็มิได้ลดละการบำเพ็ญเพียรภาวนาเลย เมื่อว่างจากหน้าที่การงานต่างๆแล้ว ท่านก็จะหลบมาภาวนาเงียบๆในกุฏิแต่เพียงองค์เดียวเสมอ โดยในสมัยแรกๆกุฏิหลวงปู่จะเป็นกุฏิไม้อยู่ท้ายวัดหลังเล็กๆ ยกสูงสี่เสาร์ ด้านหลังกุฏิก็ทำเป็นทางจงกรมภาวนา หลวงปู่เคยกล่าวว่า "ไม่มีงานไหนของพระ สำคัญกว่างานการภาวนา เพราะงานอื่นทำไปไม่มีจบ แต่งานการภาวนา เป็นงานที่จบสิ้นไปได้"

*ภาวนาที่ถ้ำบาหลอด*



พระอาจารย์มหาสิน ทัตตาโภ
       ....เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2517-2520 ในช่วงนี้หลวงปู่เทืองท่านได้ยินว่า มีครูบาอาจารย์มาปฏิบัติธรรมอยู่แถวๆตำบลผาน้อยนี้ อยู่องค์หนึ่งเป็นพระมหาเปรียญธรรมด้วย โดยท่านพักภาวนาอยู่ที่ถ้ำบาหลอด ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่เทืองท่านจึงมีโอกาสได้เข้าพบ และสนทนาธรรมจึงทราบว่าท่านคือ "พระอาจารย์มหาสิน ทัตตาโภ ป.ธ.6" ซื่งหลวงปู่เทืองเล่าว่า พระอาจารย์มหาสินนี้ เดิมทีท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอวาริชภูมิ อยู่วัดศรีวรารมณ์ จ.สกลนคร ต่อมาท่านลาออกจากเจ้าคณะอำเภอ เพราะท่านว่าเป็นภาระในการปฏิบัติธรรม เมื่อท่านลาออกแล้ว ท่านเลยมาพักภาวนาที่ถ้ำบาหลอดแห่งนี้

พระอาจารย์มหาสินนี้ ท่านแก่กว่าหลวงปู่เทืองสิบกว่าพรรษา หลวงปู่เทืองท่านเล่าว่า "พระอาจารย์มหาสินนี้เก่งทั้งภาวนา ทั้งพลังจิต ในสมัยนั้นมีเณรที่อยู่กับท่าน อยู่รูปหนึ่ง คอยดูแลอุปัฏฐากท่านอยู่ เณรนั่นเล่าให้หลวงปู่เทืองฟังว่า บนถ้ำบาหลอดนี้ ด้านบนถ้ำไม่มีน้ำ จะหาน้ำใช้สอย ค่อนข้างลำบาก พระอาจารย์มหาสิน ท่านเลยอธิษฐานจิต ให้โขดหินก่อนใหญ่ในถ้ำ ให้ยุบตัวลงไปเป็นแอ่งน้ำแล้วให้มีน้ำผุดขึ้นมาจากแอ่งหินนั้นไว้ใช้"

ซึ่งเรื่องอธิษฐานน้ำนี้ หลวงปู่ได้ขึ้นไปดูในถ้ำบาหลอดตามคำบอกเล่าของเณรด้วยตัวท่านเองแล้ว ปรากฏว่ามีจริงๆ แต่ปัจจุบันผ่านมา50กว่าปีก็ไม่ทราบเช่นกันว่า ยังมีน้ำให้เห็นอยู่หรือไม่ เพราะถ้ำบาหลอด ตอนนี้กลายเป็นวัดของพระธรรมยุติมาสร้างวัดไปแล้ว หลวงปู่กล่าวต่อว่า..."ช่วงนี้ก็ได้แวะเวียนไปพูดคุย สนทนาธรรมกับพระอาจาย์มหาสินอยู่เสมอ และบางครั้งก็อยู่ภาวนากับท่านครั้งละ 2 วันบ้าง 3 วันบ้างตามแต่โอกาสและภาระหน้าที่จะเอื้ออำนวยให้ ไปมาอยู่หลายปีเลยก็ว่าได้..."

******ในช่วงท้ายนี้ขอเสริมข้อมูลบางส่วนจาก พระอาจารย์ถวิน อินทวัณโณ ท่านเคยเป็นเณรที่มาดูแลอุปัฏฐาก พระอาจารยมหาสินด้วยแต่อยู่เพียงเดือนเดียวเพราะมาตามคำสั่ง หลวงพ่อสง่า ซึ่งเป็นสหมิตรธรรมกับพระอาจารย์มหาสิน ให้มาดูแลในช่วงแรกๆเท่านั้นแล้วท่านก็กลับสกลนคร

พระอาจารย์ถวิลเล่าว่า..."ในปีที่ท่านไปอยู่กับพระอาจารย์มหาสิน ท่านเคยเห็นหลวงปู่เทืองแวะเวียนไปสนทนาธรรม และ ปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มหาสินอยู่บ่อยครั้งที่ถ้ำบาหลอด แต่ท่านก็ไม่ได้สนใจนักในช่วงแรกๆ ตอนหลังเลยมา กราบเรียนถามพระอาจารย์มหาสินว่าพระที่มาปฏิบัติกับพระอาจารย์คือใคร."

....พระอาจารย์มหาสินบอกกับเณรถวิน(ในตอนนั้น)ว่า "ชื่อพระอาจารย์เทือง มาจากวัดโพธิ์ชัยใกล้ๆนี้(พร้อมชี้นิ้วไปทางวัด) ท่านมาสนทนาธรรมด้วย พร้อมกล่าวทิ้งทายว่า ท่านปฏิบัติดี(หมายถึงหลวงปู่เทือง)พูดน้อยแต่จิตท่านสูง"

**หมายเหตุ**พระอาจารย์ถวิน อินทวัณโณ ปัจจุบันท่านบวชอยู่ที่ จ.สกลนคร ตอนเป็นเณรท่านบวชในมหานิกาย แต่สึกออกไปเรียนหนังสือแล้วกลับมาบวชใหม่โดยญัตติเป็นพระธรรมยุติ ปัจจุบันจำพรรษาอยู่วัดแถว จ.สกลนคร


(บทสัมภาษณ์และเรียบเรียงเผื่อการเผยแพร)
ตอนที่4


....หลังจากที่หลวงปู่เทือง ได้รับเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยแล้ว ในปี พ.ศ.2518. หลวงปู่เทือง ท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูอุดมคุณากร เนื่องด้วยหลวงปู่ได้เป็นเจ้าคณะตำบลตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 แล้วและยังเป็นกรรมการ การศึกษานักธรรมบาลีสนามหลวง อยู่หลายปี ซึ่งหลวงปู่ท่านกล่าวว่า "ภาระหน้าที่หลายๆอย่างนี้ แม้จะเป็นภาระทางใจอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ต้องรับไว้รับผิดชอบเสียก่อน เพราะในช่วงเวลานั้นน้อยนักที่จะมีพระที่มีความรู้ และอายุพรรษาอาวุธโสภันเตพอสมควร. ที่จะมาทำหน้าที่ได้"

หลวงปู่ทำหน้าที่เจ้าคณะตำบลอยู่ประมาณ 11 ปีท่านก็ได้ขอลาออกจากตำแหน่งต่างๆที่รับผิดชอบอยู่ แม้เจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้นจะขอนิมนต์ให้ช่วยงานการศาสนาอยู่ต่ออีกก็ตาม แต่หลวงปู่ท่านก็มิได้รับอีกท่านจึงได้ออกจากเจ้าคณะตำบล ซึ่งท่านบอกว่า "เป็นปฏิปทาเหมือนกับ หลวงพ่อมหาสินที่ลาออกจากเจ้าคณะอำเภอ เพื่อจะได้มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้นและจะได้ ปลดเปลื่องภาระทางใจไปอีกประการหนึ่งด้วย"

หลังจากที่หลวงปู่ออกจากเจ้าคณะตำบลแล้ว ท่านก็มีเวลาปฏิบัติธรรมมากขึ้น ซึ่งในช่วงนี้เองประมาณ ปี พ.ศ.2529 ท่านพระครูรังสฤษดิ์ (ปัจจุบัน ท่านพระราชปรีชามุนี (รังสฤษดิ์ สุมนชาโต ป.ธ.๔) เป็นเจ้าคณะจังหวัดเลย มหานิกาย) ได้ชักชวนหลวงปู่ไปปฏิบัติ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสถานปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน แนวสติปัฐานสี่ ที่เป็นสถานปฏิบัติธรรมต้นตำรับของการปฏิบัติแนวสติปัฐานนี้



เจ้าคุณโชดก
      หลวงปู่เทืองและท่านพระครูรังสฤษดิ์ ได้เดินทางไปวัดมหาธาตฯุ และได้มีโอกาสฝากตัวเป็นลูกศิษย์ กับท่านพระธรรมธีรราชมหามุนี ( โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙) พระอาจารย์ใหญ่วิปัสสนาธุระ หลวงปู่กล่าวว่า "การมาปฏิบัติกับท่านเจ้าคุณโชดกในครั้งนี้ ท่านรู้สึกปีติใจเป็นอย่างมาก เพราะท่านเจ้าคุณได้ให้ความเมตตาหลวงปู่และพระครูรังสฤทดิ์ เป็นอันมากทั้งไถถามเรื่องการปฏิบัติธรรม และให้โอวาทธรรมเพื่อแก้ไขภาวะทางจิตภาวนา ซึ่งหลวงปู่มาอยู่ปฏิบัติในครั้งนี้ ทำให้จิตใจท่านมีกำลังใจมากขึ้น และจิตภาวนาได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก"

.....ครั้งที่ได้มาปฏิบัติในครั้งนี้ หลวงปู่กล่าวว่า "เหมือนได้เกิดใหม่อีกครั้งเพราะท่านเจ้าคุณโชดกได้ให้ความเมตตา เอาใจใส่ลูกศิษย์ลูกหาทุกคน ทั้งยังให้โอวาทธรรมแนะนำ สั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติ อุบายธรรมต่างๆ จนถึงขนาดว่าเวลาหลวงปู่เดินจงกรมไม่ตรงตามแนวหลักวิธี ท่านเจ้าคุณโชดกถึงขนาดจับขาหลวงปู่เดินให้ตรงตามแนวแถวให้ถูกต้อง เลยทีเดียว"

ซึ่งในช่วงที่หลวงปู่ปฏิบัติอยู่ที่วัดมหาธาตุนี้ ท่านก็ได้มีโอกาสร่วมพรรษากับ พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอำพวัน จ.สิงห์บุรีอีกด้วย หลวงปู่บอกว่าก็ไม่ได้คุยอะไรกันเท่าไรนักกับหลวงพ่อจรัญ เพราะต่างมาปฏิบัติธรรมเพียงเท่านั้น หลวงปู่อยู่ปฏิบัติอยู่ที่นี้อย่างเข้มข้น บางวันอบรมณ์ธรรมะตั้งแต่สามทุ่ม ยาวไปจนถึงเช้าอีกวันหนึ่งเลยก็มี

เมื่อมาอยู่ปฏิบัติได้หนึ่งเดือน ท่านพระครูรังสฤษดิ์ก็ได้กราบลา ท่านเจ้าคุณโชดก กลับจังหวัดเลยก่อน เพราะยังมีงานปกครองที่ต้องไปดูแล เนื่องจากตอนนั้นพระครูรังสฤษดิ์ ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภออยู่ด้วย แต่หลวงปู่เทืองนั้นยังขอปฏิบัติธรรมต่ออยู่ที่นี้ เพราะมีความรู้สึกว่าการภาวนาดี จิตใจเจริญก้าวหน้าทางกรรมฐานขึ้นมาก จึงขออยู่ต่อถึงสามเดือน...


......จึงถือได้ว่า หลวงปู่เทืองนอกจากท่านจะมีความรู้ด้านวิทยาคม ในสายหลวงพ่อคูณแล้ว ท่านยังภูมิธรรม ภูมิความรู้ในด้านปฏิบัติภาวนาทางจิต สายวัดมหาธาตุฯ อีกด้วย. หลังจากพ้นสามเดือนแล้ว หลวงปู่ท่านก็จะขอลากลับจังหวัดเลย ท่านจึงได้ขึ้นไปกราบลาท่านเจ้าคุณโชดกที่ศาลาวัด ท่านเจ้าคุณท่านเห็นหลวงปู่เทืองมากราบนมัสการลา ท่านก็ให้โอวาทว่า"ท่านมาปฏิบัติที่นี้ อย่างดีอย่างเต็มกำลังแล้ว ผู้สอนก็สอนเต็มที่แล้ว ต่อไปให้ท่านรักษาข้อธรรมนี้ไว้ปฏิบัติให้ดีนะ " หลวงปู่เทืองบอกว่า หลังจากนั้นไม่นาน ท่านเจ้าคุณโชดก ท่านก็ละสังขารมรณะภาพลง ด้วยอิริยาบถนั่งสมาธิมรณะภาพ...."

หมายเหตุ-ในอดีตแนวการปฏิบัติธรรมของแต่ละสำนักจะไม่ค่อยเหมือนกันนักเนื่องด้วยความรู้ ความเห็นที่แตกต่างกันของครูบาอาจารย์ผู้สอน ซึ่งในสมัยก่อนแนวทางการปฏิบัติที่มีแบบแผน ที่เป็นไปในทางเดี่ยวกันจึงน้อย ถ้าเป็นในอดีตก็จะเป็นสายพระป่า และ สายวัดปากน้ำ ที่จะมีแนวทางการปฏิบัติที่มีแบบแผน และผู้คนศรัทธาปฏิบัติกันมาก


พระพิมลธรรม อาจ อาสโภ

จนท่านพระพิมลธรรม อาจ อาสโภ(สมณศักดิ์ในตอนนั้น) ได้นำหลักสติปัฏฐานสี่ ของพระชาวพม่าเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เพราะเห็นว่าหลักปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐานนี้. เป็นหลักที่เก่าแก่และตรงตามพระไตรปิฎกที่สุด เท่าที่มีการค้นคว้ามา และเป็นหลักที่พระพุทธเจ้านำมาสอนสาวกในสมัยพุทธกาล....

ท่านพระพิมลธรรมจึงได้นำหลักนี้ มาเรียบเรียงและเผยแพร่ให้พระทั่วไป(โดยเฉพาะพระมหานิกาย)ได้ปฏิบัติกัน เพื่อความเป็นระเบียบและแบบแผนอันเดียวกัน ซึ่งท่านเจ้าคุณโชดก เป็นภิกษุรูปแรก ที่พระพิลธรรมได้ส่งให้ไปศึกษาแนวปฏิบัติที่ประเทศพม่า ตั้งแต่เป็นพระมหาโชดก ป.ธ.9 และกลับมาสอนพระภิกษุ และสาธุชนทั่วไปที่สนใจ ในประเทศไทย โดยสำนักปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐานสี่ที่แรกคือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร....


**วัตถุมงคลหลวงปู่เทือง ญาณธโร**

      แม้ว่าหลวงปู่เทืองท่านจะเป็นพระปฎิบัติ ไม่ได้ยึดติดในวัตถุสิ่งของภายนอก แต่ด้วยท่านก็มีเมตตาต่อลูกศิษย์ ลูกหาที่มีความเคารพ ศรัทธา หวังพึ่งบารมีหลวงปู่เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นขวัญกำลังใจ ให้กับลูกศิษย์ลูกหา หลวงปู่ท่านจึงเมตตาอนุญาตให้ลูกศิษย์ จัดสร้างพระในนามของท่านได้ ตามวาระ ตามโอกาส ที่เหมาะสม แต่กะนั้นวัตถุมงคลหลวงปู่ ก็ไม่ได้มีหลายรุ่นนัก และเป็นที่หวงแหน ของลูกศิษย์ ตลอดจนศรัทธาญาติโยมที่มีความศรัทธา เพราะพระหลวงปู่นั้น ว่ากันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ และมีประสบการณ์กับผู้มีไว้บูชา ทั้งแคล้วคลาด เมตตา ตลอดจนไปถึง ด้านโชคลาภ และเด่นดีในทุกๆด้าน....

     โดยวัตถุมงคลของท่านนั้น ในยุคแรกๆ ประมาณปี 2515 เป็นต้นมา จะมีศรัทธาญาติโยม และชาวบ้านที่นับถือหลวงปู่ ตลอดจนทหาร ตำรวจที่ปฏิบัติงานแถวชายแดน มักจะมาขอให้หลวงปู่เมตตา จารแผ่นยันต์ทำตะกรุดให้อยู่เสมอ 

หลวงปู่ได้เริ่มจารตะกรุด โดยทำควบคู่กับอาจารย์ศิลา หมอยาผู้บวชเก่า ผู้เป็นแพทย์ประจำท้องถิ่น จารตระกรุดทองคำ เงิน นาค ทองแดง ทองเหลืองปัจจุบันหาได้ยาก ตระกรุดที่ว่าเป็นของหายากคือตระกรุดจันทรุปาคาจะจารในช่วงจันทรุปาคาทำได้ไม่เกิน 20 ดอกต่อวาระ และสุริยุปาคาปี 2538 หาได้ยากยิ่ง โดยหลวงปู่เมตตาจารพระคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ เป็นยันต์ประจำตัว....

เหรียญพระพุทธชินราชยุคแรกหลวงป
     และเมื่อปี 2537 หลวงปู่ท่านดำริให้สร้างเหรียญครั้งแรก โดยหลวงปู่ให้สร้างรูปเหมือนแต่คนรับงานไม่ทำตามประสงค์ ได้เป็นเหรียญพระพุทธชินราชแทน จึงแจกไปแค่ 1,000 เหรียญ อีก 4,000 เหรียญถูกบรรจุไว้ใต้องค์พระประธานเหรียญนี้ปัจจุบันหายาก พุทธคุณเด่นมาก เรื่องเมตตา ค้าขาย ปัจจุบันมีมูลค่าราคากลาง 1,000-2,000 บาท แล้วแต่สภาพความสวย

พระกริ่งภูหลวง
ต่อมาเมื่อปี 2557 คณะศิษย์สายกรุงเทพ ได้ขออนุญาตหลวงปู่จัดสร้างพระกริ่งชุดหนึ่งขึ้น โดยชื่อรุ่นว่า "พระกริ่งภูหลวง"  จำนวนการสร้างทั้งหมด 1100 องค์ แยกเป็นแบบอุดผง 50 องค์จอง  แบบติดก้าน 50 องค์แจกในพิธี ถือเป็นพระที่จัดสร้างน้อย และชนวนมวลสารดีมาก หล่อจากชนวนมวลสารเก่าเหรียญเก่า 15 กิโลกรัมเป็นพระเกจิทั่วประเทศ เฉพาะเหรียญหลวงพ่อคูณ พิมพ์นั่ง 108 เหรียญ / โลหะหลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ องค์ใหญ่ / และที่สุด ของที่สุุด คือก้านช่อ 2 ช่อของหลวงพ่อเงินรุ่นทิ้งทวน หลวงพ่อเงิน รุ่นทิ้งทวน สร้างจาก มวลสารหลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม 2448 ข้อพระกรขวาพระมงคลบพิตร ช่อพระกริ่งวัดสุทัศน์ สมเด็จแพฯ ช่อพระกริ่งปวเรศ 2 ช่อหลวงพ่อทวดปี 05  รวมมวลสารเก่า 50 กิโลกรัม /ทุกองค์มี โค๊ต ท. กระจาย  และหมายเลขกำกับทุกองค์

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เทือง
และในปี 2558 ทางคณะศิษย์สายกรุงเทพคณะเดิม ได้ขออนุญาตจัดสร้างเหรียญรุ่นแรก ในรูปลักษณ์ของท่านอย่างเป็นทางการขึ้นจุดประสงค์ เพื่อหาปัจจัยสมทุบทนซื้อที่ดิน สร้างพุทธยานปฎิบัตรธรรม​ ในอุปถัมภ์ของหลวงปู่ ในการจัดสร้างครั้งนี้ จำนวนเกือบ 20000 เหรียญ โดยแยกเป็น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ เนื้อทองแดง(มีทั้งลงยาสี และไม่ลงยา) แยกออกกันไปตามจำนวนสร้างมากน้อย...


ล็อกเก็ตฉากขาวหลวงปู่
พระนาคปรกเล็กหลวงปู่
และในปี 2560 ก็มีการขออนุญาตจัดสร้างล็อกเก็ตฉากขาว โดยคณะศิษย์สายเมืองเลย จำนวน 100 องค์ และ และในปีเดียวกันนี้ มีการจัดสร้างพระนาคปรกเล็ก 600 องค์ถวาย โดยมีทองแดงเนื้อเดียว โดยจะตอกโค๊ตด้านหลังพระคำว่า"ปู่เทือง"กำกับอยู่ทุกองค์